วันที่ 5/ ก.ค. /2556
เวลาเข้าเรียน 13.10 -16.40น.กลุ่มที่ 1 ได้รายงาน เรื่อง ภาษา มีเนื้อหาดังนี้
ความหมายของภาษา คือ ความคิด ความรู้ ความรู้สึก และกริยาอาการที่แสดงออกมาแล้วสามารถทำความเข้าใจกันได้ ไม่ว่าจะเป็นระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ มนุษย์กับสัตว์ หรือสัตว์กับสัตว์ ส่วนภาษาในความหมายอย่างแคบนั้น หมายถึง เสียงพูดที่มนุษย์ใช้สื่อสารกันเท่านั้น
ความสำคัญของภาษา * ภาษาเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการสื่อสารของมนุษย์ มนุษย์ติดต่อกันได้ เข้าใจกันได้ก็ด้วยอาศัยภาษาเป็นเครื่องช่วยที่ดีที่สุด ภาษาเป็นสิ่งช่วยยึดให้มนุษย์มีความผูกพันต่อกัน เนื่องจากแต่ละภาษาต่างก็มีระเบียบแบบแผนของตน ซึ่งเป็นที่ตกลงกันในแต่ละชาติแต่ละกลุ่มชน การพูดภาษาเดียวกันจึงเป็นสิ่งที่ทำให้คนรู้สึกว่าเป็นพวกเดียวกัน มีความผูกพันต่อกันในฐานะที่เป็นชาติเดียวกัน
ภาษาเป็นศิลปะ มีความงดงามในกระบวนการใช้ภาษา กระบวนการใช้ภาษานั้น มีระดับและลีลา ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆหลายด้าน เช่น บุคคล กาลเทศะ ประเภทของเรื่องฯลฯ การที่จะเข้าใจภาษา และใช้ภาษาได้ดีจะต้องมีความสนใจศึกษาสังเกตให้เข้าถึงรสของภาษาด้วย
กลุ่มที่ 2 รายงาน เรื่อง แนวคิดของภาษา
เพียเจต์ (Jean Piaget :
1896-1980)
เพียเจท์ได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับพัฒนาการทางเชาวน์ปัญญา โดยเขาเชื่อว่าว่าเด็กทุกคนเกิดมาพร้อมที่จะมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติตลอดเวลา และส่วนใหญ่แล้วมนุษย์จะเป็นผู้
- กระทำ(Active)ก่อน โดยวางอยู่บนพื้นฐานที่มาแต่กำเนิด 2 ชนิด คือ
- การจัดและรวบรวม(Oganization) หมายถึงมีการจัดระเบียบภายในเข้าเป็นระบบ ระเบียบและปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาที่ปฎิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม
- การปรับตัว(Adaptation) หมายถึงการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมให้สมดุลย์ จะประกอบด้วยกระบวนการสำคัญ 2 อย่างคือ
- การดูดซึม (Assimilation) และ
- การปรับความแตกต่าง (Accommodation)
กลุ่มที่ 3 รายงาน เรื่อง
พัฒนาทางสติปัญญา
0-1 เดือน
ลูกกินนมแม่ทำให้ลูกได้รับความอบอุ่นจากแม่ได้อย่างเต็มที่
2
เดือน เริ่มทำเสียงอ้อแอ้ แสดงท่าทางดีใจเมื่อได้กินนม เด็กจะเริ่มชันคอขึ้น
เมื่อควรอุ้มพาดบ่าหรือจับให้นอนคว่ำ
เพื่อที่จะได้ส่งเสริมพัฒนาการของลูกให้ได้เร็วขึ้น
3 เดือน
ลูกเริ่มชันคอได้ตรง แม่อุ้มลูกในท่านั่ง กินนมแม่อย่างเดียวก็เพียงพอแล้ว
ต้องระวังหากยังไม่สามารถสบตา นอนคว่ำชันคอไม่ได้ ก็ควรพาไปพบแพทย์
กลุ่มที่ 4 รายงาน เรื่อง พัฒนาการด้านสติปัญญา 2- 4
ปี
จีน
เพียเจต์ เป็นขั้นพัฒนาการของเด็กอายุ 2-4 ปี
เป็นช่วงที่เด็กเริ่มมีเหตุผลเบื้องต้น สามารถจะโยงความสัมพันธ์ระหว่างเหตุการณ์ 2
เหตุการณ์ หรือมากกว่ามาเป็นเหตุผลเกี่ยวโยงซึ่งกันและกัน
แต่เหตุผลของเด็กวัยนี้ยังมีขอบเขตจำกัดอยู่ เพราะเด็กยังคงยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง
คือถือความคิดตนเองเป็นใหญ่ และมองไม่เห็นเหตุผลของผู้อื่น
ความคิดและเหตุผลของเด็กวัยนี้ จึงไม่ค่อยถูกต้องตามความเป็นจริงนัก
นอกจากนี้ความเข้าใจต่อสิ่งต่างๆ ยังคงอยู่ในระดับเบื้องต้น เช่น เข้าใจว่าเด็กหญิง
2 คน ชื่อเหมือนกัน จะมีทุกอย่างเหมือนกันหมด
แสดงว่าความคิดรวบยอดของเด็กวัยนี้ยังไม่พัฒนาเต็มที่
แต่พัฒนาการทางภาษาของเด็กเจริญรวดเร็วมาก สรุปไว้ว่า
เราไม่ควรไปเร่งรัดให้เด็กพัฒนาจากอีกขั้นไปอีกขั้น
กลุ่มที่ 5 รายงาน เรื่อง พัฒนาาดารเด็กช่วง 4-6
ปี
เป็นขั้นพัฒนาการของเด็ก อายุ 4-6 ปี
ขั้นนี้เด็กจะเกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ รวมตัวดีขึ้น
รู้จักแยกประเภทและแยกชิ้นส่วนของวัตถุ เข้าใจความหมายของจำนวนเลข
เริ่มมีพัฒนาการเกี่ยวกับการอนุรักษ์ แต่ไม่แจ่มชัดนัก
สามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้โดยไม่คิดเตรียมล่วงหน้าไว้ก่อน
รู้จักนำความรู้ในสิ่งหนึ่งไปอธิบายหรือแก้ปัญหาอื่นและสามารถนำเหตุผลทั่วๆ
ไปมาสรุปแก้ปัญหา
โดยไม่วิเคราะห์อย่างถี่ถ้วนเสียก่อนการคิดหาเหตุผลของเด็กยังขึ้นอยู่กับสิ่งที่ตนรับรู้
หรือสัมผัสจากภายนอก ช่วงนี้จะเป็นช่วงที่เด็กรับรู้ และชอบสังเกต แลชอบถามว่า
ทำไม และทำไม เด็กจะชอบฟงคำพูด ของคุณพ่อคุณแม่
พัฒนาการทางภาษา
เด็กอายุ 4 - 6 ปีบอกชื่่อ
นามสกุล และที่อยู่ได้
- รู้จักเพศของตัวเอง
- ชอบถามทำไม เมื่อไร อย่างไร และถามความหมายของคำ และมักเป็นคำถามที่มีเหตุผลมากขึ้น
- เด็กวัยนี้สามารถขยายคำศัพท์ เด็กวัยนี้สามารถขยายคำศัพท์จาก 4,000 - 6,000 คำ และสามารถพูดได้ 5-6 ประโยคต่อคำ สามารถเล่าเรื่องซ้ำ 4 -5 ลำดับขั้น หรือ 4 -5 ประโยคในเรื่องหนึ่งได้
- เข้าใจคำถามง่ายๆ และตอบคำถามนั้นได้ แม้ในเด็กบางคนอาจจะยังพูดติดอ่าง แต่ก็สามารถแก้ไขได้
- ชอบเล่าเรื่องราวต่างๆ ที่คิดขึ้นมาเอง ให้คนอื่นๆ ฟัง ทั้งพ่อแม่ คนรอบข้าง และเพื่อน
- คิดคำขึ้นมาใช้โต้ตอบกับผู้ใหญ่ได้
- มักให้ความสนใจในภาษาพูดของผู้ใหญ่ โดยเฉพาะคำแสลง หรือคำอุทาน
- ชอบเรื่องสนุก ตลก ชอบภาษาแปลกๆ ชอบฟังนิทานมาก และชอบฟังเพลง มักจะคอยฟังเวลาที่ผู้ใหญ่คุยกัน จดจำคำศัพท์ และบทสนทนาเหล่านั้น โดยเฉพาะคำแสลงหรือคำอุทาน
- สามารถบอกชื่อสิ่งของในภาพที่เห็นได้ หรือเล่าเรื่องที่พ่อแม่เคยอ่านให้ฟังได้ และจะเล่นเป็นสุนัข เป็ด หรือสัตว์ต่างๆ ในเรื่องนั้น พร้อมทำเสียงสัตว์เหล่านั้นประกอบได้
- สับสนระหว่างเรื่องจริงกับเรื่องเล่าในหนังสือเด็ก
กลุ่มที่ 6 รายงานเรื่อง ทฤษฎีจิตวิทยาการเรียนรู้
แนวคิดของทฤษฎี
1.
สามารถเปล่ยนแปลงของบุคคลที่เป็นผลมาจากการได้รับประสบการณ์
2.
ต้องอาศัยวุฒิภาวะ
ความหมาย
คือ
การเปลี่ยนแปลงอันมีมูลมาจากการได้รับประสบการณ์และได้ปฏิบัติตนที่แตกต่างไปจากเดิม
จุดมุ่งหมาย
-
ด้านพุทธิพิสัย เช่น สติปัญญา การเรียนรู้ การแก้ปัญหา
-
ด้านเจตพิสัย เช่น ความรู้สึกของแต่ละบุคคล
-
ด้านทักษะพิสัย เช่น พฤติกรรมการเรียนรู้ที่บ่งถึงความสามารถในการปฏิบัติงานได้อย่างคล่องแคล่วชำนิชำนาญ
องค์ประกอบ
- แรงขับ คือ
จะเกิดขึ้นภายในตัวบุคคล
- สิ่งเร้า
เช่น สื่อ อุปกรณ์ ครูผู้สอน
- การตอบสนอง
คือ การเคลื่อนไหวของเด็ก การพูด
-
การสร้างแรงเสริม
กลุ่มที่ 7 รายงานเรื่อง
วิธีการเรียนรู้
การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจท์ (Piaget) ได้กล่าวถึง การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยว่าเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่เกิดจากการทำงานของโครงสร้างทางปัญญา (Schemata) เป็นวิธีที่เด็กจะเริ่มต้นด้วยความสัมพันธ์ระหว่างตัวเองกับสิ่งแวดล้อม และสิ่งที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของกระบวนการมี 2 อย่างคือ
1. การขยายโครงสร้าง (Assimilation) คือ การที่บุคคลได้รับประสบการณ์หรือรับรู้สิ่งใหม่เข้าไปผสมผสานกับความรู้เดิม
2. การปรับเข้าสู่โครงสร้าง (Accommodation) คือการที่โครงสร้างทางปัญญาของบุคคลนำเอาความรู้ใหม่ที่ได้ปรับปรุงความคิดให้เข้ากับสภาพแวดล้อม เพียเจท์ (Piaget, 1965 : 35 – 37) ได้แบ่งพัฒนาการทางสติปัญญาออกเป็น 4 ขั้นคือ
1. ขั้นประสาทสัมผัสและการเคลื่อนไหว (Sensorimotor Stage) อายุตั้งแต่แรกเกิดถึง 2 ปี ในขั้นนี้เด็กจะรูจักใช้ประสาทสัมผัสทางปาก หู ตา ต่อสิ่งแวดล้อม พฤติกรรมที่แสดงออกในรูปของการมีปฏิกิริยาตอบสนองสิ่งเร้า ในระยะนี้จะสามารถจำได้ว่าวัตถุและเหตุการณ์บางอย่างเป็นอย่างเดียวกัน
2. ขั้นความคิดก่อนปฏิบัติการ (Pre – Operational Stage) อายุ 2 – 7 ปี เป็นขั้นที่เด็กเริ่มเรียนรู้ภาษาพูดและเข้าใจเครื่องหมายต่าง ๆ หรือสภาพแวดล้อมรอบตัว สัญลักษณ์ต่าง ๆ เด็กจะสามารถสร้างโครงสร้างทางสติปัญญาแบบง่าย ซึ่งเป็นการคิดพื้นฐานที่อาศัยการรับรู้เป็นส่วนใหญ่ สามารถแบ่งเป็น 2 ระยะคือ
2.1 ระยะก่อนเกิดความคิดรอบยอด เป็นขั้นที่เด็กชอบสำรวจ ตรวจสอบ จะสนใจว่าทำไมเหตุการณ์ต่าง ๆ จึงเกิดขึ้นและเกิดได้อย่างไร จะเริ่มใช้ภาษาและเข้าใจความหมายของสัญลักษณ์ และมีลักษณะต่าง ๆ คือ จะยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง มองไม่เห็นวัตถุที่เหมือนกันอาจมีบางส่วนต่างกัน เด็กจะเริ่มคิดอย่างมีเหตุผลเป็นแบบตามใจตัวเอง และจะตัดสินสิ่งต่าง ๆ ตามที่มองเห็น
2.2 ระยะการคิดแบบใช้ญาณหยั่งรู้ เป็นการคิดเกี่ยวกับบางสิ่งบางอย่างที่รวด เร็วโดยไม่คำนึงถึงรายละเอียด การคิดและการตัดสินใจจะขึ้นอยู่กับการรับรู้เป็นส่วนใหญ่ ทำให้การตัดสินใจเปลี่ยนแปลงไปมา และมีลักษณะคือ เข้าใจเรื่องจำนวน เข้าใจเรื่องความคงที่ (Conservation) เริ่มคิดได้ว่าของบางสิ่งยังคงเดิมไม่คำนึงถึงรูปร่างและจำนวนที่เปลี่ยนไป เข้าสังคมได้มากขึ้น เลียนแบบบทบาทต่าง ๆ ส่วนพฤติกรรมยึดตนเองเป็นศูนย์กลางจะลดน้อยลง
3.ขั้นปฏิบัติการคิดแบบรูปธรรม (Concrete Operational Stage) อายุ 7 – 11 ปี เป็นขั้นที่เด็กจะสามารถใช้เหตุผลกับสิ่งที่มองเห็น และมองความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ ได้ดีขึ้นเพราะเด็กจะพัฒนาโครงสร้างการคิดที่จะเป็นกับความสันพันธ์ที่สลับซับซ้อน เด็กในวัยนี้จะสามารถตัดสินใจได้อย่างมีเหตุผลมากขึ้นกับสิ่งที่เป็นนามธรรม เด็กจะเห็นสภาพแวดล้อมว่าประกอบด้วยวัตถุและเหตุการณ์ต่าง ๆ แม้ว่าวัตถุที่มองเห็นจะเปลี่ยนไป
4. ขั้นปฏิบัติการคิดแบบนามธรรม (Formal Operational Stage) อายุ 11 ปีขึ้นไป เป็นขั้นที่พัฒนาการทางความคิดของเด็กถึงขั้นสูงสุด จะเข้าใจการใช้เหตุผลและการทดลองได้อย่างมีระบบ สามารถตั้งสมมติฐานและทฤษฎีอีกทั้งเห็นว่า ความจริงที่รู้ไม่สำคัญเท่าสิ่งที่อาจเป็นไปได้
กลุ่มที่ 9 ได้รายงาน เรื่อง องค์ประกอบของภาษา
นักภาษาศาสตร์จะให้ความสำคัญของเสียงพูดมกกว่าตัวเขียนที่เป็นลายลักษณ์อักษร เพราะภาษาย่อมเกิดจากเสียงที่ใช้พูดกัน ส่วนภาษาเขียนเป็นสัญลักษณ์ที่ใช้แทนเสียงพูด คำที่ใช้พูดจากันจะประกอบด้วยเสียงสระ เสียงพยัญชนะและเสียงวรรณยุกต์ แต่บางภาษาก็ไม่มีเสียงวรรณยุกต์ เช่น บาลี สันสกฤต เขมร อังกฤษ
2. พยางค์และคำ
พยางค์เป็นกลุ่มเสียงที่เปล่งออกมาแต่ละครั้ง จะประกอบด้วย เสียงพยัญชนะ เสียงสระ และเสียงวรรณยุกต์ จะมีความหมายหรือไม่มีความหมายก็ได้
พยางค์แต่ละพยางค์จะมีเสียงพยัญชนะต้น ซึ่งเป็นเสียงที่อยู่หน้าเสียงสระ พยางค์ทุกพยางค์จะต้องมีเสียงพยัญชนะต้น เสียงสระ และเสียงวรรณยุกต์ บางพยางค์ก็อาจมีเสียงพยัญชนะสะกดประกอบอยู่ด้วย เช่น
“ ปา” พยัญชนะต้น ได้แก่ เสียงพยัญชนะ /ป /
เสียงสระ ได้แก่ เสียงสระ / อา /
เสียงวรรณยุกต์ ได้แก่ เสียง / สามัญ /
ส่วนคำนั้นจะเป็นการนำเสียงพยัญชนะ เสียงสระ และเสียงวรรณยุกต์มาประกอบกัน ทำให้เกิดเสียงและมีความหมาย คำจะประกอบด้วยคำพยางค์เดียวหรือหลายพยางค์ก็ได้
ประโยค
3. ประโยค เป็นการนำคำมาเรียงกันตามลักษณะโครงสร้างของภาษาที่กำหนดเป็นกฎเกณฑ์หรือระบบตามระบบทางไวยากรณ์ของแต่ละภาษา และทำให้ทราบหน้าที่ของคำ
4. ความหมาย
ความหมายของคำมี 2 อย่าง คือ
(1) ความหมายตามตัวหรือความหมายนัยตรง เป็นความหมายตรงของคำนั้นๆ เป็นคำที่ถูกกำหนดและผู้
(2) ความหมายในประหวัดหรือความหมายเชิงอุปมา เป็นความหมายเพิ่มจากความหมายในตรง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น