...♥ Welcome to my blog ♥...ยามท้อแท้จงมองที่จุดหมาย อุปสรรคมากมายจงอย่าหวั่น เพียงยิ้มสู้ทำต่อไปเพื่อปลายฝัน ต้องมีวันสำเร็จแน่แค่ตั้งใจ


วันพฤหัสบดีที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนครั้งที่ 6

วันที่ 19/ ก.ค. /2556

    เวลาเข้าเรียน    13.10 -16.40น.



การสอนภาษาแบบธรรมชาติ


        การสอนภาษาแบบธรรมชาติ ( Whole Language Approach ) คือ ปรัชญาและระบบความเชื่อซึ่งทำให้เกิดแนวการสอนภาษาโดยองค์รวม ทั้งด้านการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน ( Moss and Noden, eds., 1993; Spodek and Saracho, 1994; Stanek,1993 ) ปรัชญาและระบบความเชื่อนี้มีทฤษฎีพื้นฐานมาจากทฤษฎีว่าด้วยระบบของภาษา ทฤษฎีว่าด้วยภาษา ความคิด และสัญลักษณ์สื่อสาร และทฤษฎีว่าด้วยการอ่านเขียนในระบบภาษา ( บุษบง ตันติวงศ์, 2536 ) การสอนภาษาแบบธรรมชาติมีแนวคิดและหลักการที่สอดคล้องกับลักษณะและหน้าที่ของภาษา คือ ใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารอย่างมีความหมายและเหมาะสมกับพัฒนาการด้านการรู้หนังสือของเด็ก

        การสอนภาษาแบบธรรมชาตินับว่ามีคุณค่าอย่างยิ่งต่อพัฒนาการทางภาษาของเด็ก คือ ช่วยให้เด็กมีความสนุกสนานในการเรียนภาษา และมีทัศนคติที่ดีต่อการเรียนรู้ ช่วยให้เด็กได้รับการพัฒนาทางภาษาทั้งด้านการฟัง พูด อ่าน และเขียนอย่างครอบคลุมทุกด้านและเต็มศักยภาพ อีกทั้งยังช่วยให้ครูและผู้ปกครองเกิดความเข้าใจในพัฒนาการทางด้านภาษาด้านการอ่านและการเขียนของเด็กเพิ่มขึ้น (ฉันทนา ภาคบงกช, ม.ป.ป. )
        จากความเชื่อ แนวคิด และหลักการสอนภาษาแบบธรรมชาติที่นักการศึกษาหลายท่านได้อธิบายไว้ สรุปเป็นหลักการสำคัญของการสอนภาษาแบบธรรมชาติ ดังนี้

        1. การจัดสภาพแวดล้อม การสอนภาษาต้องสร้างสภาพแวดล้อมให้เด็กได้คุ้นเคยกับการใช้ภาษาอย่างมีความหมายและเป็นองค์รวม ตัวหนังสือที่ปรากฏในห้องเรียนต้องมีเป้าหมายในการใช้จริงๆ หนังสือที่ใช้จะต้องเป็นหนังสือที่ใช้ภาษาที่มีความหมายสมบูรณ์ในตัว ไม่แบ่งเป็นทักษะย่อยๆ และจะต้องให้เด็กมีส่วนร่วมในการจัดสภาพแวดล้อมด้วย

        2. การสื่อสารที่มีความหมาย การสอนภาษาควรให้เด็กมีโอกาสสื่อสารโดยมีพื้นฐานจากประสบการณ์จริงที่มีความหมายต่อเด็ก ครูจะต้องจัดเวลาให้เด็กมีโอกาสอ่านเขียนอย่างมีจุดมุ่งหมายจริงๆ ไม่ใช่เป็นเพียงกิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อการฝึกหัด และให้เด็กได้ใช้เวลาในการอ่านและเขียนตามโอกาสตลอดทั้งวัน โดยไม่ต้องกำหนดตายตัวว่าช่วงเวลาใดต้องอ่าน หรือช่วงเวลาใดต้องเขียน

        3. การเป็นแบบอย่าง การสอนภาษาจะต้องให้เด็กเห็นประโยชน์ของการใช้ภาษาในความมุ่งหมายต่างๆ ครูต้องอ่านและเขียนโดยมีจุดมุ่งหมายในการใช้จริงๆให้เด็กได้เห็น เช่น เพื่อการสื่อสาร เพื่อความเพลิดเพลิน เพื่อค้นหาวิธีการ ฯลฯ นอกจากนี้ครูยังต้องเป็นแบบอย่างที่ดีให้เด็กเห็นว่าการอ่านเป็นเรื่องสนุก เพื่อสร้างให้เด็กเกิดความรู้สึกที่ดีต่อการอ่าน

        4. การตั้งความคาดหวัง การสอนภาษาจะต้องเป็นไปในลักษณะเดียวกันกับที่เด็กเรียนรู้ที่จะพูด ครูควรเชื่อมั่นว่าเด็กจะสามารถอ่านและเขียนได้ดีขึ้นและถูกต้องยิ่งขึ้น เด็กมีความสามารถในการอ่านและการเขียนตั้งแต่ยังอ่านและเขียนไม่เป็น ดังนั้น เด็กจึงควรได้รับโอกาสที่จะอ่านและเขียนตั้งแต่วันแรกที่มาโรงเรียน และที่สำคัญคือครูไม่ควรคาดหวังให้เด็กอ่านและเขียนได้เหมือนผู้ใหญ่

        5. การคาดคะเน การสอนภาษาควรให้เด็กมีโอกาสที่จะทดลองกับภาษา สร้างสมมุติฐาน-เบื้องต้นของตน และมีโอกาสเดาหรือคาดคะเนคำที่จะอ่าน และมีโอกาสคิดประดิษฐ์สัญลักษณ์และคิดสะกดเพื่อการเขียน

        6. การให้ข้อมูลย้อนกลับ การสอนภาษาควรตอบสนองความพยายามในการใช้ภาษาของเด็กในทางบวก ยอมรับการอ่านและการเขียนของเด็กว่าเป็นสิ่งที่มีความหมายแม้ว่ายังไม่ถูกต้องสมบูรณ์ และพยายามตอบสนองเด็กให้เหมาะสมกับสถานการณ์นั้นๆ ครูอาจให้เด็กได้เห็นตัวอย่างที่ถูกต้องอย่างเป็นธรรมชาติ เช่น การอ่านหนังสือเล่มที่เด็กชอบอ่านให้เด็กฟังในโอกาสอื่นๆ หรือเขียนให้ดูเมื่อมีการสนทนาในกลุ่มใหญ่ เป็นต้น

        7. การยอมรับนับถือ การสอนภาษาจะต้องตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคลของเด็ก ว่าเด็กเรียนรู้การอ่านและเขียนอย่างแตกต่างกัน ตามช่วงเวลา และอัตราที่แตกต่างกัน ครูต้องศึกษาเด็กเป็นรายบุคคล ศึกษาความสนใจ ความสามารถ และสอนเด็กตามความสามารถที่แตกต่างกันของเด็ก เด็กต้องได้ตัดสินใจเลือกกิจกรรมที่จะเรียนรู้ด้วยตนเอง ในช่วงเวลาเดียวกันเด็กไม่จำเป็นต้องทำกิจกรรมอย่างเดียวกัน หรือทำกิจกรรมตามลำดับขั้นตอน เพราะการเรียนรู้ภาษาไม่มีลำดับขั้นตอนที่ถูกต้องตายตัว

        8. การสร้างความรู้สึกเชื่อมั่น การสอนภาษาต้องส่งเสริมให้เด็กรู้สึกปลอดภัยที่จะคาดคะเนในการอ่านหรือเขียน แม้ว่าไม่เคยอ่านหรือเขียนมาก่อน ครูต้องทำให้เด็กไม่กลัวที่จะขอความช่วยเหลือด้านการอ่านและเขียนเมื่อจำเป็น เด็กต้องไม่ถูกตราหน้าว่าไม่มีความสามารถในการอ่านและเขียน ดังนั้น การสอนภาษาจึงต้องเป็นไปอย่างเหมาะสมกับพัฒนาการและความสามารถของเด็ก เพื่อให้เด็กมีความเชื่อมั่นว่าตนมีความสามารถที่จะอ่านและเขียนได้


วันพฤหัสบดีที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

นิทานสนุกๆค่ะ



                 
ณ ป่าใหญ่แห่งหนึ่ง มีครอบครัวกระต่ายครอบครัวหนึ่งอาศัยอยู่ในโพรงไม้ใหญ่ใกล้ๆ กับธารน้ำเล็กๆ กระต่ายครอบครัวนี้นับได้ว่าเป็นผู้มีความมสำคัญกับป่าไม้แห่งนี้มาก เพราะกระต่ายผู้เป็นพ่อ มีตำแหน่งเป็นถึงที่ปรึกษาด้านสุขภาพให้แก่สิงโตเจ้าป่า ส่วนกระต่ายผู้เป็นแม่ก็ต้องไปประชุมหารือกับกลุ่มแม่บ้านสัตว์ป่าเป็นประจำ ด้วยเหตุนี้ทั้งพ่อและแม่กระต่ายจึงต้องออกไปทำงานนอกบ้านทุกวัน และจำต้องทิ้งให้ลูกน้อยทั้งสอง คือกระต่ายพี่สาวกับกระต่ายน้องชาย เล่นกันอยู่ในบ้านโพรงกระต่ายตามลำพังสองตัว อยู่มาวันหนึ่ง พ่อกระต่ายสังเกตเห็นว่าบ้านโพรงกระต่ายของตนไม่ค่อยเป็นระเบียบเรียบร้อย เท่าที่ควร จึงยกเรื่องนี้มาพูดคุยกับแม่กระต่ายก่อนเข้านอนว่า “เธอว่าไหมจ๊ะแม่กระต่าย เดี๋ยวนี้บ้านของเราไม่ค่อยเป็นระเบียบเรียบร้อยเหมือนแต่ก่อนเลยนะ” “โอ้” แม่กระต่ายร้องอย่างละอายใจ “เป็นความบกพร่องของฉันเองจ้ะ ช่วงนี้ฉันงานยุ่งมากจนไม่มีเวลาดูแลบ้านโพรงกระต่ายของเราให้สวยงามดังเดิม ฉันสัญญาว่าจะปรับปรุงตัวเองจ้ะ”
 

“อย่าพูดอย่างนั้นเลย แม่กระต่ายที่รัก เพราะฉันไม่ได้คิดจะติเตียนเธอแต่อย่างใด ความจริงงานบ้านเป็นงานที่หนักมาก ฉันเองต่างหากที่ต้องละอายแก่ใจ เพราะไม่เคยได้ช่วยเธอทำงานบ้านเลย แล้วตอนนี้เธอก็งานยุ่งมากจนแทบไม่มีเวลาพักผ่อน จะเอาแรงที่ไหนมาดูแลบ้านช่องได้เหมือนแต่ก่อนเล่า” พ่อกระต่ายปลอบขวัญภรรยาสุดที่รัก

“ถึงอย่างนั้นก็เถอะ แม่กระต่าย การที่เธองานยุ่งมากอย่างนี้ทำให้ฉันนึกอะไรขึ้นมาได้ แลดูลูกๆ ของพวกเราสิ เขาทั้งสองเติบโตมากแล้ว แต่เรายังไม่เคยสอนให้ลูกเรารู้จักทำงานที่เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นบ้างเลย ฉันว่าน่าจะเป็นการดีนะ หากเราจะสอนให้ลูก ๆ ทำงาน โดยเริ่มจากงานบ้านของเราเอง” พ่อกระต่ายเสนอความเห็น

“เป็นความคิดที่วิเศษมาก แต่ลูกๆ ของเราไม่เคยทำงาน เขาจะทำได้ดีหรือจ๊ะ”

“เขาคงทำได้ไม่ดีนักหรอก และคงจะสร้างความเหนื่อยหน่ายให้แก่เรามากทีเดียวในตอนแรก แต่นั่นยิ่งทำให้เราต้องมอบหมายงานและสอนการทำงานที่ถูกต้องแก่เขา หากไม่เริ่มเสียแต่ตอนนี้ เขาก็จะทำอะไรไม่เป็นเลยเมื่อโตขึ้น ใครจะอยากได้คนทำอะไรไม่เป็นไปร่วมสังคมด้วยล่ะ จริงไหม” พ่อกระต่ายกล่าว

เช้าวันรุ่งขึ้น แม่กระต่ายจึงเรียกลูกทั้งสองมาพูดคุยในเรื่องดังกล่าว กระต่ายพี่น้องไม่เคยทำงานบ้านทั้งคู่ และรู้ว่าเป็นงานที่เหนื่อยมากทีเดียว อย่างไรก็ตาม กระต่ายทั้งคู่ก็รักและเชื่อฟังพ่อแม่กระต่าย จึงคิดว่าถ้าพวกตนทำงานบ้านก็จะช่วยบรรเทาความเหนื่อยล้าของพ่อกับแม่ได้ ดังนั้นทั้งคู่จึงรับปากแม่กระต่ายว่าจะช่วยทำงานบ้านทุกอย่างแทนแม่กระต่าย เอง



แต่แม่กระต่ายไม่ได้ใจร้ายกับลูกๆ ขนาดนั้น เธอคิดว่าจะค่อยๆ มอบหมายงานให้ลูกรับผิดชอบไปทีละอย่างก่อน เพื่อดูลักษณะการทำงานของลูกๆ และชี้แนะจุดบกพร่องให้แก้ไขไปทีละจุด ด้วยเหตุนี้ งานชิ้นแรกที่แม่กระต่ายมอบให้กระต่ายพี่น้องทำก็คือ งานล้างจานและรักษาความสะอาดในห้องครัว

กระต่ายพี่น้องช่วยทำงานที่แม่กระต่ายมอบหมายได้สามวัน ต่างคนต่างก็รู้สึกว่าตนเองทำงานมากกว่าอีกคนหนึ่ง จึงเกิดการโต้เถียงกันขึ้นอย่างรุนแรง

สุดท้ายกระต่ายผู้พี่ก็เอ่ยแนวทางแก้ปัญหาว่า ให้จดรายชื่องานทั้งหมด แล้วแบ่งกันทำให้ชัดเจนไปเลยแล้วกัน กระต่ายน้องชายก็เห็นด้วย ทั้งสองจึงจดรายชื่องานที่ต้องทำทั้งหมดแล้วตกลงกันว่าใครจะทำสิ่งใด

กระต่ายพี่สาวรับงานจัดเตรียมโต๊ะอาหาร ส่วนกระต่ายน้องชายบอกว่าจะเก็บกวาดโต๊ะอาหารเอง เมื่อกระต่ายพี่สาวล้างจาน น้องชายก็รับหน้าที่เช็ดจานและเก็บเข้าตู้ นอกจากนั้นยังมีงานจุกจิกมากมายในครัวที่ทั้งสองพยายามแบ่งกันทำ

การแบ่งงานกันทำเช่นนี้ มองผิวเผินแล้วน่าจะเป็นไปด้วยดี แต่พอทำเข้าจริง ๆ กลับไม่สำเร็จตามเวลาที่ควรจะเป็น เพราะกระต่ายน้อยทั้งสองไม่ได้มุ่งมั่นในงานของตน เอาแต่จับตาดูอีกฝ่ายหนึ่งว่ากำลังทำอะไร และทำเต็มที่ตามหน้าที่ของตนเองหรือไม่

“แม่จ๋า” กระต่ายพี่สาววิ่งโร่เข้าไปฟ้องแม่กระต่ายในวันหนึ่ง “มีจานอยู่บนโต๊ะอีกใบหนึ่ง แต่น้องกระต่ายจอมเกียจคร้านไม่ยอมหยิบไปวางที่อ่างล้างจาน อย่างนี้ลูกก็ล้างจานไม่ได้สักทีสิจ๊ะ”

“ลูกก็หยิบไปไว้เองสิจ๊ะ” แม่กระต่ายกล่าวอย่างไม่เห็นเป็นเรื่องสลักสำคัญ

“โธ่ แม่จ๋า นั่นไม่ใช่งานของลูกสักหน่อย มันเป็นงานของน้องต่างหาก เราแบ่งหน้าที่กันแล้ว ก็ต้องทำตามที่ตกลงกันไว้สิ”

แล้วชามใบนั้นก็ตั้งอยู่ที่เดิมรอกระต่ายน้องชายมาหยิบมันไป ฝ่ายกระต่ายพี่สาวก็รอจานจากน้องชายอยู่อย่างนั้น กว่าจะได้ล้างจานก็ปรากฏว่า จานของหลายๆ มื้อสุมรวมกันเป็นกองพะเนิน ซึ่งทำให้ต้องล้างจานเป็นจำนวนมากและใช้เวลามากขึ้นด้วย ดังนั้น น้องชายผู้มีหน้าที่เช็ดถ้วยชามก็เลยต้องนั่งรอให้พี่สาวล้างจานให้เสร็จ ก่อน จึงจะเช็ดจานชามและนำเข้าเก็บในตู้ได้ ซึ่งทำให้กระต่ายน้องชายต้องนั่งเช็ดจนดึกดื่นอยู่บ่อยๆ

นอกจากพี่สาวจะเกี่ยงงานแล้ว กระต่ายน้องชายก็เกี่ยงงานเช่นกัน หากเขากำลังกวาดพื้นครัว และเห็นเศษขยะตกอยู่ในอ่างล้างจาน เขาก็จะกวาดสายตาผ่านไปเหมือนมองไม่เห็น เพราะอ่างล้างจานเป็นความรับผิดชอบของกระต่ายพี่สาว ขยะที่ตกอยู่จึงทำให้เกิดการอุดตัน ทำให้พ่อกระต่ายต้องมาซ่อมให้อยู่หลายครั้ง บรรยากาศในบ้านเริ่มเศร้าหมอง เพราะมีแต่เสียงร้องเกี่ยงงานกันจากลูกทั้งสอง พ่อแม่กระต่ายเฝ้ามองพฤติกรรมของลูกอยู่พักหนึ่ง จนเห็นว่าไม่มีอะไรพัฒนาไปในทางที่ดี พ่อกระต่ายจึงส่งสัญญาณให้แม่กระต่ายรู้ว่า ถึงเวลาที่ควรจะจัดการอะไรสักอย่างได้แล้ว

วันหนึ่ง แม่กระต่ายจึงเรียกลูกกระต่ายเข้ามาพูดคุยในเรื่องนี้
“การที่ลูกทั้งสองแบ่งงานกันทำเป็นเรื่องที่ดี แต่ไม่ใช่วิธีที่ลูกกำลังทำอยู่ตอนนี้ เพราะเราเป็นคนในครอบครัวเดียวกัน เราต้องรักและช่วยเหลือกัน ไม่ใช่แบ่งงานกันทำโดยไม่เหลียวแลคนอื่น หากลูกยังทำเช่นนี้ต่อไป ในไม่ช้าเราคงต้องจ้างคุณทนายความมาช่วยตัดสินว่าใครจะทำงาน และต้องทำเมื่อไร จะลงโทษเขาอย่างถ้าเขาทำงานบกพร่อง นั่นดูเหมือนว่าเรามีกฎหมายที่ปราศจากความรู้สึก ซึ่งถ้าเป็นสังคมภายนอก เราอาจต้องทำเช่นนั้น แต่นี่คือบ้านของเรา ลูกคือลูกของพ่อแม่และลูกสองคนเป็นพี่น้องกัน เราทุกคนช่วยกันทำงานเพราะเรารักกัน ไม่ดียิ่งกว่าหรือ”

“ถ้าเช่นนั้น ลูกมิต้องทำทุกอย่างหมดเลยหรือ ถ้าลูกคิดเช่นนั้น แต่พี่กระต่ายไม่คิดเช่นลูก แล้วไม่หยิบจับอะไรเลย ลูกก็ต้องทำทุกอย่างคนเดียวสิจ๊ะแม่” น้องชายคร่ำครวญ

“ไม่หรอกลูก ลูกไม่ต้องทำงานหมดทุกอย่าง พี่กระต่ายจะช่วยลูกทำงานทุกอย่าง เพราะพี่รักลูก และไม่อยากให้ลูกทำงานเหนื่อยเกินไป ลูกเองก็จะช่วยพี่เขาเช่นกัน จะไม่มีใครคิดว่า ใครต้องทำงานมากกว่าใคร แต่ลูกต้องคิดว่า จะทำอย่างไรจึงจะช่วยแบ่งเบาภาระของพี่หรือน้อง ไม่ให้เหนื่อยเกินไปมากที่สุด ถ้าลูกๆ เปลี่ยนวิธีคิดและปฏิบัติได้อย่างนี้ งานของลูกก็จะเสร็จเรียบร้อยดีทั้งสองคน”

กระต่ายพี่น้องมองหน้ากันครู่หนึ่ง แล้วกระต่ายพี่สาวก็พูดขึ้นว่า
“ก็ได้จ้ะแม่ ลูกจะลองทำงานโดยคิดแบบนั้นดูก็ได้ เพราะลูกก็ไม่อยากทะเลาะกับน้องนักหรอก”
แม่หันไปหาน้องชาย

“ลูกก็เต็มใจที่จะลองดู” กระต่ายน้องชายตอบ

“ดีแล้วลูก” แม่กระต่ายกล่าวพลางโอบกอดลูกทั้งสอง “เราจะปฏิบัติตามวิธีใหม่นี้ คือให้เราช่วยกันทำงานเพราะความรัก ไม่ใช่เพราะถูกบังคับ ความรักนั้นจำเป็นสำหรับครอบครัวเรามากที่สุด จำไว้เถิดลูกรัก”

ลูกกระต่ายพากันหัวเราะ เป็นเรื่องดีทีเดียวสำหรับครอบครัวกระต่ายที่ได้ยินเด็กทั้งสองหัวเราะอีก
หลังจากนั้นกระต่ายพี่น้องก็ปฏิบัติตามความคิดของแม่กระต่าย และรู้สึกว่าวิธีนี้ช่วยให้พวกเขาทำงานได้สำเร็จเรียบร้อย ทั้งยังรักษาความสุขในครอบครัวไว้ได้อีกด้วย
 

บทสรุปของผู้แต่ง
เธอทั้งหลาย ว่ากันถึงเรื่องการทำงานแล้ว การแบ่งงานกันทำเป็นเรื่องที่ดีมาก แต่หากทำเพียงความรับผิดชอบของตน โดยเกี่ยงที่จะช่วยเหลือผู้อื่นแล้ว ก็อย่าทำเสียเลยจะดีกว่า เพราะการทำงานแบบนี้ไม่ช่วยให้เธอเรียนรู้อะไรมากขึ้น ยิ่งไปกว่านั้น ยังทำให้เธอกลายเป็นคนใจคอคับแคบมากเกินไป

ลองคิดดูสิว่า การจะสร้างสรรค์ผลงานชั้นดีสักชิ้นหนึ่งนั้น จะต้องเกิดจากองค์ประกอบชั้นดีหลายๆ ประการมาอยู่ร่วมกัน หากเธอมุ่งมั่นในงานของตนเองโดยไม่สนใจช่วยเหลือคนอื่นเลย ถึงเธอจะทำงานส่วนของเธอได้ดีแค่ไหน แต่ถ้าส่วนอื่นๆ ใช้ไม่ได้ ภาพรวมของงานชิ้นนั้นจะออกมาได้ดีได้อย่างไร ถ้าเป็นเช่นนั้นจริง เธอจะไม่เสียแรงไปเปล่าๆ หรือ

ทั้งหมดนี้ไม่ได้หมายความว่า เธอต้องทุ่มเทแรงกายแรงใจเพื่อช่วยคนอื่นตลอดเวลา แต่หมายความว่าให้ปฏิบัติหน้าที่ส่วนของตนเองให้ดีที่สุด จนเมื่อเธอพร้อมจะหยิบยื่นความช่วยเหลือให้ผู้อื่นแล้ว เธอจึงค่อยเข้าไปให้ความช่วยเหลือแก่เขาในส่วนที่เขาต้องการจริงๆ ที่สำคัญคือเธอต้องช่วยเพราะมีใจรักที่จะช่วย มิใช่ช่วยเพราะกลัวคนอื่นกล่าวหาว่าเธอไม่ช่วย หากเธอพยายามทำหน้าที่ของตนเองให้ดีและมีใจรักที่จะช่วยผู้อื่นเช่นนี้ งานของเธอก็จะประสบความสำเร็จตามความตั้งใจได้ไม่ยาก


บันทึกการเรียนครั้งที่5

องค์ประกอบทางด้านภาษา
1.  Phonology
     -  คือระบบเสียง
     -  เปล่งออกมาเพื่อสื่อความหมาย
     -  หน่วยเสียงจะประกอบขึ้นเป็นคำในภาษา
2.  Semantic
     -  คือความหมายภาษาและคำศัพท์
     -  คำศัพท์บางคำสามารถมีหลากหลายความหมาย
     -  ความหมายอาจจะเหมือนกันแต่ใช้คำศัพท์ที่ต่างกัน
3.  Syntax
     -  คือไวยากรณ์
     -  การเรียงรูปประโยค
4.  Pracmatic

     -  การนำไปใช้

     -  ใช้ให้ถูกต้องตามสถานะการณ์และเทศกาล

               

            แนวคิด

1.  แนวคิดของกลุ่มพฤษติกรรมนิยม

ทฤษฎีของ สกินเนอร์

     -  สิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อพัฒนาการทางภาษา

     -  ให้ความสำคัญกับสิ่งเร้าและการตอบสนอง

สกินเนอร์  ได้ทำการทดลองโดยการใช้หนูในการทดลอง  ใส่ไว้ในกล่องโดยที่เขาไม่ให้อาหารเรย  แล้วจะมีคานไว้  เมื่อหนูแตะคานอาหารก็จะตกมา  ทำให้หนูเกิดการเรียนรู้

ทฤษฎีของ  John  B.  Watsan

     -  วางเงื่อนไขแบบคลาสสิก

     -  เป็นสิ่งที่สามารถกระทำได้  และผู้ใหญ่สามารถวางเงื่อนไขให้เด็กเกิดพฤษติกรรมที่พึงประสงค์ทุกฟฤษติกรรมได้

2.  สติปัญญา



Piaget  ได้กล่าวไว้ว่า

     -  เด็กจะเรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม

     -  ภาษาเป็นสิ่งที่ทำให้เห็นระดับพัฒนาการทางสติปัญของเด็ก



Vygotsky

     -  เด็กเรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม

     -  สังคม และบุคคลรอบข้าง  จะมีผลต่อการเรียนรู้ทางภาษาของเด็ก

     -  จะเน้นบทบาทของผู้ใหญ่  ซึ่งเมื่อผู้ใหญืทำอะไรเด็กก็จะจำและนำกลับไปทำตาม

     -  ผู้ใหญ่ควรชี้แนะและขยายประสบการณ์ด้านภาษาของเด็ก

3.  แนวคิดทางด้านร่างกาย


Annold  Gesell
    -  เน้นความพร้อมทางด้านร่างกายในการใช้ภาษา
    -  ความพร้อม  วุฒิภาวะของเด็กแต่ละคนจะไม่เท่ากัน
    -  เด็กบางคนจะมีควมาพร้อมทางร่างกายในการใช้ภาษาได้เร็ว
    -  เด็กบางคนมีปัญหาอวัยวะบางส่วนที่ใช้ภาษาในการสื่อสารบกพร่อง

4.  แนวคิดกลุ่มที่ชื่อว่าภาษาติดตัวมาตั้งแต่เกิด

Noam  Chomsky
    -  ภาษาเป็นกระบวการนที่เกิดขึ้นภายในตัวมนุษย์
    -  การเรียนรู้ภาษาขึ้นอยู่กับวุฒิภาวะ
    -  มนุษย์เกิดมาโดยมีศักยภาพในการเรียนรู้ทางภาษามา  ตั้งแต่เกิด

LAD ( Language  Acquisition  Pevice)
O. Hobart  Mowrer
    -  คิดค้นทฤษฎีการพึงพอใจ
    -  ความสามารถในการฟังและความเพลิดเพลินในการได้ยินเสียงผู้อื่นและเสียงตัวเอง  เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อพัฒนาการทางด้านภาษา

             แนวคิดทางการจัดประสบการณ์ทางภาษา
    -  เป้นสิ่งที่สะท้อนปรัชญาและความเชื่อของครูเกี่ยวกับการเรียนรู้ภาษาของเด็ก
    -  นำไปสู่การกำหนดกระบวนการที่ใช้อย่างแต่กต่างกัน

Richard  and  Rodger  1995  แบ่งเป็น  3  กลุ่ม  ดังนี้


1.  มุมมองด้านโครงสร้างทางภาษา
    -  นำองค์ประกอบย่อยมาใช้ในการสื่อความหมาย

2.  มุมมองด้านหน้าที่ทางภาษา
    -  เชื่อว่าภาษาเป็นเครื่องมือสำหรับสื่อความหมาย
    -  จัดประสบการณ์เน้นการสื่อความหมาย
    -  ไม่ได้ละทิ้งแบบแผนหรือไวยากรณ์

3.  มุมมองด้านปฏิสัมพันธ์
    -  ภาษาเป็นเครื่องมือในการสร้างความสัมพันธ์ทางสังคม
    -  แบกเปบี่ยนปรสบการณ์
    -  เด็กมีปฏิสัมพันธ์ผ่านในการใช้ภาษา



บันทึกการเรียนครั้งที่4

วันที่ 5/ ก.ค. /2556

    เวลาเข้าเรียน 13.10 -16.40น.

                             วันนี้มีการนำเสนอหน้าห้องเรียนทั้งหมด10กลุ่ม    
 กลุ่มที่ 1 ได้รายงาน เรื่อง ภาษา  มีเนื้อหาดังนี้                 
                 ความหมายของภาษา  คือ  ความคิด ความรู้ ความรู้สึก และกริยาอาการที่แสดงออกมาแล้วสามารถทำความเข้าใจกันได้ ไม่ว่าจะเป็นระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ มนุษย์กับสัตว์ หรือสัตว์กับสัตว์ ส่วนภาษาในความหมายอย่างแคบนั้น หมายถึง เสียงพูดที่มนุษย์ใช้สื่อสารกันเท่านั้น
                 ความสำคัญของภาษา  
* ภาษาเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการสื่อสารของมนุษย์  มนุษย์ติดต่อกันได้  เข้าใจกันได้ก็ด้วยอาศัยภาษาเป็นเครื่องช่วยที่ดีที่สุด ภาษาเป็นสิ่งช่วยยึดให้มนุษย์มีความผูกพันต่อกัน เนื่องจากแต่ละภาษาต่างก็มีระเบียบแบบแผนของตน  ซึ่งเป็นที่ตกลงกันในแต่ละชาติแต่ละกลุ่มชน  การพูดภาษาเดียวกันจึงเป็นสิ่งที่ทำให้คนรู้สึกว่าเป็นพวกเดียวกัน  มีความผูกพันต่อกันในฐานะที่เป็นชาติเดียวกัน
ภาษาเป็นศิลปะ  มีความงดงามในกระบวนการใช้ภาษา  กระบวนการใช้ภาษานั้น มีระดับและลีลา  ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆหลายด้าน  เช่น  บุคคล  กาลเทศะ  ประเภทของเรื่องฯลฯ  การที่จะเข้าใจภาษา  และใช้ภาษาได้ดีจะต้องมีความสนใจศึกษาสังเกตให้เข้าถึงรสของภาษาด้วย



 กลุ่มที่ 2 รายงาน เรื่อง  แนวคิดของภาษา
   
  เพียเจต์ (Jean Piaget : 1896-1980)
            
 เพียเจท์ได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับพัฒนาการทางเชาวน์ปัญญา โดยเขาเชื่อว่าว่าเด็กทุกคนเกิดมาพร้อมที่จะมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติตลอดเวลา และส่วนใหญ่แล้วมนุษย์จะเป็นผู้
  1. กระทำ(Active)ก่อน โดยวางอยู่บนพื้นฐานที่มาแต่กำเนิด 2 ชนิด คือ
  2. การจัดและรวบรวม(Oganization) หมายถึงมีการจัดระเบียบภายในเข้าเป็นระบบ ระเบียบและปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาที่ปฎิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม
  3. การปรับตัว(Adaptation) หมายถึงการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมให้สมดุลย์ จะประกอบด้วยกระบวนการสำคัญ 2 อย่างคือ

  1. การดูดซึม (Assimilation) และ
  2. การปรับความแตกต่าง (Accommodation)
 กู๊ดแมน ( Goodman, 1986 อ้างถึงใน บังอร   พานทอง 2550 : 70 – 72) กล่าวถึงความหมายของการสอนภาษาแบบธรรมชาติว่าเป็นการเรียนการสอนที่เน้นการสอนภาษาอย่างมีความหมาย โดยผู้เรียนจะอาศัยประสบการณ์ของตนเองประกอบการเรียน ไม่แบ่งแยกภาษาเป็นส่วนย่อย เป็นการสนับสนุนให้ผู้เรียนเกิดความกล้าและมั่นใจในตนเองในการที่จะใช้ภาษา ไม่เกรงว่าจะผิด ทั้งนี้เพราะผู้สอนไม่เน้นการลงโทษเมื่อเด็กใช้ภาษาผิด แต่พยายามชี้ให้เห็นข้อบกพร่องโดยทางอ้อม เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนแก้ไขตนเอง



               กลุ่มที่ 3 รายงาน  เรื่อง  พัฒนาทางสติปัญญา
              0-1 เดือน  ลูกกินนมแม่ทำให้ลูกได้รับความอบอุ่นจากแม่ได้อย่างเต็มที่

                2   เดือน  เริ่มทำเสียงอ้อแอ้  แสดงท่าทางดีใจเมื่อได้กินนม  เด็กจะเริ่มชันคอขึ้น  เมื่อควรอุ้มพาดบ่าหรือจับให้นอนคว่ำ เพื่อที่จะได้ส่งเสริมพัฒนาการของลูกให้ได้เร็วขึ้น

               3  เดือน  ลูกเริ่มชันคอได้ตรง  แม่อุ้มลูกในท่านั่ง  กินนมแม่อย่างเดียวก็เพียงพอแล้ว  ต้องระวังหากยังไม่สามารถสบตา  นอนคว่ำชันคอไม่ได้  ก็ควรพาไปพบแพทย์


              กลุ่มที่ 4 รายงาน  เรื่อง  พัฒนาการด้านสติปัญญา  2- 4 ปี

              จีน  เพียเจต์  เป็นขั้นพัฒนาการของเด็กอายุ 2-4 ปี เป็นช่วงที่เด็กเริ่มมีเหตุผลเบื้องต้น สามารถจะโยงความสัมพันธ์ระหว่างเหตุการณ์ 2 เหตุการณ์ หรือมากกว่ามาเป็นเหตุผลเกี่ยวโยงซึ่งกันและกัน แต่เหตุผลของเด็กวัยนี้ยังมีขอบเขตจำกัดอยู่ เพราะเด็กยังคงยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง คือถือความคิดตนเองเป็นใหญ่ และมองไม่เห็นเหตุผลของผู้อื่น ความคิดและเหตุผลของเด็กวัยนี้ จึงไม่ค่อยถูกต้องตามความเป็นจริงนัก นอกจากนี้ความเข้าใจต่อสิ่งต่างๆ ยังคงอยู่ในระดับเบื้องต้น เช่น เข้าใจว่าเด็กหญิง 2 คน ชื่อเหมือนกัน จะมีทุกอย่างเหมือนกันหมด แสดงว่าความคิดรวบยอดของเด็กวัยนี้ยังไม่พัฒนาเต็มที่ แต่พัฒนาการทางภาษาของเด็กเจริญรวดเร็วมาก สรุปไว้ว่า เราไม่ควรไปเร่งรัดให้เด็กพัฒนาจากอีกขั้นไปอีกขั้น 

กลุ่มที่ 5 รายงาน เรื่อง  พัฒนาาดารเด็กช่วง 4-6 ปี
             เป็นขั้นพัฒนาการของเด็ก อายุ 4-6 ปี ขั้นนี้เด็กจะเกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ รวมตัวดีขึ้น รู้จักแยกประเภทและแยกชิ้นส่วนของวัตถุ เข้าใจความหมายของจำนวนเลข เริ่มมีพัฒนาการเกี่ยวกับการอนุรักษ์ แต่ไม่แจ่มชัดนัก สามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้โดยไม่คิดเตรียมล่วงหน้าไว้ก่อน รู้จักนำความรู้ในสิ่งหนึ่งไปอธิบายหรือแก้ปัญหาอื่นและสามารถนำเหตุผลทั่วๆ ไปมาสรุปแก้ปัญหา โดยไม่วิเคราะห์อย่างถี่ถ้วนเสียก่อนการคิดหาเหตุผลของเด็กยังขึ้นอยู่กับสิ่งที่ตนรับรู้ หรือสัมผัสจากภายนอก  ช่วงนี้จะเป็นช่วงที่เด็กรับรู้ และชอบสังเกต  แลชอบถามว่า ทำไม และทำไม  เด็กจะชอบฟงคำพูด ของคุณพ่อคุณแม่
              พัฒนาการทางภาษา เด็กอายุ 4 - 6 ปีบอกชื่่อ นามสกุล และที่อยู่ได้

  1. รู้จักเพศของตัวเอง
  2. ชอบถามทำไม เมื่อไร อย่างไร และถามความหมายของคำ และมักเป็นคำถามที่มีเหตุผลมากขึ้น
  3. เด็กวัยนี้สามารถขยายคำศัพท์ เด็กวัยนี้สามารถขยายคำศัพท์จาก 4,000 - 6,000 คำ และสามารถพูดได้ 5-6 ประโยคต่อคำ สามารถเล่าเรื่องซ้ำ 4 -5 ลำดับขั้น หรือ 4 -5 ประโยคในเรื่องหนึ่งได้
  4. เข้าใจคำถามง่ายๆ และตอบคำถามนั้นได้ แม้ในเด็กบางคนอาจจะยังพูดติดอ่าง แต่ก็สามารถแก้ไขได้
  5. ชอบเล่าเรื่องราวต่างๆ ที่คิดขึ้นมาเอง ให้คนอื่นๆ ฟัง ทั้งพ่อแม่ คนรอบข้าง และเพื่อน
  6. คิดคำขึ้นมาใช้โต้ตอบกับผู้ใหญ่ได้
  7. มักให้ความสนใจในภาษาพูดของผู้ใหญ่ โดยเฉพาะคำแสลง หรือคำอุทาน
  8. ชอบเรื่องสนุก ตลก ชอบภาษาแปลกๆ ชอบฟังนิทานมาก และชอบฟังเพลง มักจะคอยฟังเวลาที่ผู้ใหญ่คุยกัน จดจำคำศัพท์ และบทสนทนาเหล่านั้น โดยเฉพาะคำแสลงหรือคำอุทาน
  9. สามารถบอกชื่อสิ่งของในภาพที่เห็นได้ หรือเล่าเรื่องที่พ่อแม่เคยอ่านให้ฟังได้ และจะเล่นเป็นสุนัข เป็ด หรือสัตว์ต่างๆ ในเรื่องนั้น พร้อมทำเสียงสัตว์เหล่านั้นประกอบได้
  10. สับสนระหว่างเรื่องจริงกับเรื่องเล่าในหนังสือเด็ก


             กลุ่มที่ 6 รายงานเรื่อง ทฤษฎีจิตวิทยาการเรียนรู้

             แนวคิดของทฤษฎี

 1.  สามารถเปล่ยนแปลงของบุคคลที่เป็นผลมาจากการได้รับประสบการณ์

 2.  ต้องอาศัยวุฒิภาวะ

             ความหมาย

คือ  การเปลี่ยนแปลงอันมีมูลมาจากการได้รับประสบการณ์และได้ปฏิบัติตนที่แตกต่างไปจากเดิม

             จุดมุ่งหมาย

- ด้านพุทธิพิสัย  เช่น สติปัญญา การเรียนรู้ การแก้ปัญหา

- ด้านเจตพิสัย    เช่น ความรู้สึกของแต่ละบุคคล

- ด้านทักษะพิสัย  เช่น  พฤติกรรมการเรียนรู้ที่บ่งถึงความสามารถในการปฏิบัติงานได้อย่างคล่องแคล่วชำนิชำนาญ

            องค์ประกอบ

- แรงขับ  คือ จะเกิดขึ้นภายในตัวบุคคล

- สิ่งเร้า  เช่น  สื่อ  อุปกรณ์  ครูผู้สอน

-  การตอบสนอง  คือ  การเคลื่อนไหวของเด็ก  การพูด 

- การสร้างแรงเสริม  
          
           กลุ่มที่  7  รายงานเรื่อง  วิธีการเรียนรู้
           
การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย            ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจท์  (Piaget)  ได้กล่าวถึง การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยว่าเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่เกิดจากการทำงานของโครงสร้างทางปัญญา  (Schemata)  เป็นวิธีที่เด็กจะเริ่มต้นด้วยความสัมพันธ์ระหว่างตัวเองกับสิ่งแวดล้อม    และสิ่งที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของกระบวนการมี  2  อย่างคือ

1.   การขยายโครงสร้าง (Assimilation)  คือ  การที่บุคคลได้รับประสบการณ์หรือรับรู้สิ่งใหม่เข้าไปผสมผสานกับความรู้เดิม

2.      การปรับเข้าสู่โครงสร้าง (Accommodation)  คือการที่โครงสร้างทางปัญญาของบุคคลนำเอาความรู้ใหม่ที่ได้ปรับปรุงความคิดให้เข้ากับสภาพแวดล้อม    เพียเจท์ (Piaget, 1965 : 35 – 37)  ได้แบ่งพัฒนาการทางสติปัญญาออกเป็น  4  ขั้นคือ 
          
 1.  ขั้นประสาทสัมผัสและการเคลื่อนไหว (Sensorimotor Stage)  อายุตั้งแต่แรกเกิดถึง 2 ปี  ในขั้นนี้เด็กจะรูจักใช้ประสาทสัมผัสทางปาก  หู  ตา ต่อสิ่งแวดล้อม  พฤติกรรมที่แสดงออกในรูปของการมีปฏิกิริยาตอบสนองสิ่งเร้า  ในระยะนี้จะสามารถจำได้ว่าวัตถุและเหตุการณ์บางอย่างเป็นอย่างเดียวกัน 

2. ขั้นความคิดก่อนปฏิบัติการ (Pre – Operational Stage)  อายุ  2 – 7  ปี  เป็นขั้นที่เด็กเริ่มเรียนรู้ภาษาพูดและเข้าใจเครื่องหมายต่าง ๆ หรือสภาพแวดล้อมรอบตัว สัญลักษณ์ต่าง ๆ เด็กจะสามารถสร้างโครงสร้างทางสติปัญญาแบบง่าย  ซึ่งเป็นการคิดพื้นฐานที่อาศัยการรับรู้เป็นส่วนใหญ่  สามารถแบ่งเป็น 2 ระยะคือ 
  
2.1    ระยะก่อนเกิดความคิดรอบยอด เป็นขั้นที่เด็กชอบสำรวจ ตรวจสอบ จะสนใจว่าทำไมเหตุการณ์ต่าง ๆ จึงเกิดขึ้นและเกิดได้อย่างไร จะเริ่มใช้ภาษาและเข้าใจความหมายของสัญลักษณ์ และมีลักษณะต่าง ๆ คือ จะยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง  มองไม่เห็นวัตถุที่เหมือนกันอาจมีบางส่วนต่างกัน  เด็กจะเริ่มคิดอย่างมีเหตุผลเป็นแบบตามใจตัวเอง และจะตัดสินสิ่งต่าง ๆ ตามที่มองเห็น
        
2.2   ระยะการคิดแบบใช้ญาณหยั่งรู้ เป็นการคิดเกี่ยวกับบางสิ่งบางอย่างที่รวด เร็วโดยไม่คำนึงถึงรายละเอียด  การคิดและการตัดสินใจจะขึ้นอยู่กับการรับรู้เป็นส่วนใหญ่ ทำให้การตัดสินใจเปลี่ยนแปลงไปมา  และมีลักษณะคือ เข้าใจเรื่องจำนวน  เข้าใจเรื่องความคงที่ (Conservation)  เริ่มคิดได้ว่าของบางสิ่งยังคงเดิมไม่คำนึงถึงรูปร่างและจำนวนที่เปลี่ยนไป  เข้าสังคมได้มากขึ้น เลียนแบบบทบาทต่าง ๆ ส่วนพฤติกรรมยึดตนเองเป็นศูนย์กลางจะลดน้อยลง 

3.ขั้นปฏิบัติการคิดแบบรูปธรรม (Concrete Operational Stage)  อายุ 7 – 11  ปี  เป็นขั้นที่เด็กจะสามารถใช้เหตุผลกับสิ่งที่มองเห็น  และมองความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ  ได้ดีขึ้นเพราะเด็กจะพัฒนาโครงสร้างการคิดที่จะเป็นกับความสันพันธ์ที่สลับซับซ้อน เด็กในวัยนี้จะสามารถตัดสินใจได้อย่างมีเหตุผลมากขึ้นกับสิ่งที่เป็นนามธรรม เด็กจะเห็นสภาพแวดล้อมว่าประกอบด้วยวัตถุและเหตุการณ์ต่าง ๆ แม้ว่าวัตถุที่มองเห็นจะเปลี่ยนไป          

  4.  ขั้นปฏิบัติการคิดแบบนามธรรม (Formal Operational Stage)  อายุ 11 ปีขึ้นไป  เป็นขั้นที่พัฒนาการทางความคิดของเด็กถึงขั้นสูงสุด  จะเข้าใจการใช้เหตุผลและการทดลองได้อย่างมีระบบ สามารถตั้งสมมติฐานและทฤษฎีอีกทั้งเห็นว่า ความจริงที่รู้ไม่สำคัญเท่าสิ่งที่อาจเป็นไปได้  

                กลุ่มที่  9  ได้รายงาน เรื่อง องค์ประกอบของภาษา






ภาษาทุกภาษาย่อมมีองค์ประกอบของภาษา โดยทั่วไปจะมีองค์ประกอบ 4 ประการ คือ1.  เสียง
นักภาษาศาสตร์จะให้ความสำคัญของเสียงพูดมกกว่าตัวเขียนที่เป็นลายลักษณ์อักษร เพราะภาษาย่อมเกิดจากเสียงที่ใช้พูดกัน ส่วนภาษาเขียนเป็นสัญลักษณ์ที่ใช้แทนเสียงพูด คำที่ใช้พูดจากันจะประกอบด้วยเสียงสระ เสียงพยัญชนะและเสียงวรรณยุกต์ แต่บางภาษาก็ไม่มีเสียงวรรณยุกต์ เช่น บาลี สันสกฤต เขมร อังกฤษ
2.  พยางค์และคำ
พยางค์เป็นกลุ่มเสียงที่เปล่งออกมาแต่ละครั้ง จะประกอบด้วย เสียงพยัญชนะ เสียงสระ และเสียงวรรณยุกต์ จะมีความหมายหรือไม่มีความหมายก็ได้
พยางค์แต่ละพยางค์จะมีเสียงพยัญชนะต้น ซึ่งเป็นเสียงที่อยู่หน้าเสียงสระ พยางค์ทุกพยางค์จะต้องมีเสียงพยัญชนะต้น เสียงสระ และเสียงวรรณยุกต์ บางพยางค์ก็อาจมีเสียงพยัญชนะสะกดประกอบอยู่ด้วย เช่น
“ ปา” พยัญชนะต้น ได้แก่ เสียงพยัญชนะ  /ป /
เสียงสระ ได้แก่ เสียงสระ / อา /
เสียงวรรณยุกต์ ได้แก่ เสียง / สามัญ /
ส่วนคำนั้นจะเป็นการนำเสียงพยัญชนะ เสียงสระ และเสียงวรรณยุกต์มาประกอบกัน ทำให้เกิดเสียงและมีความหมาย คำจะประกอบด้วยคำพยางค์เดียวหรือหลายพยางค์ก็ได้
ประโยค
3.  ประโยค เป็นการนำคำมาเรียงกันตามลักษณะโครงสร้างของภาษาที่กำหนดเป็นกฎเกณฑ์หรือระบบตามระบบทางไวยากรณ์ของแต่ละภาษา และทำให้ทราบหน้าที่ของคำ
4.  ความหมาย
ความหมายของคำมี 2 อย่าง คือ
(1) ความหมายตามตัวหรือความหมายนัยตรง เป็นความหมายตรงของคำนั้นๆ เป็นคำที่ถูกกำหนดและผู้
(2) ความหมายในประหวัดหรือความหมายเชิงอุปมา เป็นความหมายเพิ่มจากความหมายในตรง