มุมต่างๆในห้องเรียน
วันพฤหัสบดีที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2556
เทคนิคการจัดการสอนโดยThai Teachers TV โทรทัศน์ครู
คลิ๊กที่ลิ้งค์ด้านล่างนี้เพื่อดูได้เลยค่ะ
Thai Teachers TV โทรทัศน์ครู : เรียนปนเล่นกับรามเกียรติ์น้อย คุณครูมยุรี วงศ์ทองคำ รร.สามเสนวิทยาลัย
Thai Teachers TV โทรทัศน์ครู : เรียนปนเล่นกับรามเกียรติ์น้อย คุณครูมยุรี วงศ์ทองคำ รร.สามเสนวิทยาลัย
บทบาทและเทคนิคของครูในการประยุกต์การสอน
คลิ๊กที่ลิ้งค์ด้านล่างนี้เพื่อดูได้เลยค่ะ
Thai Teachers TV โทรทัศน์ครู : อ่านออกเขียนคล่อง "ทุกคน"ต้องร่วมมือ -บทบาทของครู - Literacy - The Whole Story: KS1 Teachers
ภาษาธรรมชาติ Whole Language
คลิ๊กที่ลิ้งค์ด้านล่างนี้เพื่อดูได้เลยค่ะ
เสริมความรู้จากThai Teachers TV (2)สนุกกับการออกเสียง
คลิ๊กที่ลิ้งค์ด้านล่างนี้เพื่อดูได้เลยค่ะ
สิ่งที่เด็กจะได้รับและสิ่งที่พ่อแม่ควรรู้เพื่อเป็นความเข้าใจในแนวการสอนมากขึ้น
สิ่งที่เด็กจะได้รับจากแนวการสอนภาษาแบบธรรมชาติ
สิ่งที่พ่อแม่ควรรู้ก่อนตัดสินใจให้ลูกเรียนแนวการสอนภาษาแบบธรรมชาติ
สิ่งที่พ่อแม่ต้องทำความเข้าใจจากแนวการสอนภาษาแบบธรรมชาติคือ พ่อแม่ต้องไม่คาดหวังว่าลูกจะอ่านออกเขียนได้ทันทีเหมือนเด็กในโรงเรียน อื่นๆ เช่น เด็กอนุบาล 3 รุ่นเดียวกันในโรงเรียนอื่นเขียนชื่อตัวเองได้แล้ว เขียนประโยคสั้นๆ ได้ สะกดได้ อ่านประโยคง่ายๆ ได้ แต่ลูกเราที่เรียนแนวการสอนภาษาแบบธรรมชาติยังเขียนไม่ได้ อ่านประโยคง่ายๆ ไม่ได้ เพราะแนวการสอนภาษาแบบธรรมชาติ จะฝึกให้เด็กเรียนรู้อย่างค่อยเป็นค่อยไป และเรียนรู้ความหมายจากสิ่งรอบตัว ดังนั้นลูกเราจะรู้ความหมายของคำ ใช้คำนั้นเป็น และรู้แบบการใช้สัญชาตญาณที่จะจำไปตลอด ไม่ใช่แค่การท่องจำที่จะลืมได้ตลอดเวลาถ้ามีความรู้ใหม่ๆ เข้ามา ถ้าพ่อแม่ตัดสินใจให้ลูกเรียนแนวการสอนภาษาแบบธรรมชาติจะ ต้องไม่เร่งรีบ แต่ควรส่งเสริมลูกไปพร้อมๆ กับการเรียนที่โรงเรียน เช่น ชวนลูกเล่านิทาน ชวนอ่านข้อความสั้นๆ ที่เจอในชีวิตประจำวัน หรือสอนศัพท์ง่ายๆ จะช่วยให้ลูกมีทักษะการเรียนรู้ภาษาและการเชื่อมโยงสิ่งต่างๆ รอบตัวได้ไวขึ้น เพื่อพัฒนาไปสู่การเรียนรู้อื่นๆ
-
-
- เด็กจะฟัง พูด อ่าน เขียนได้โดยวิธีธรรมชาติและได้พัฒนาทักษะดังกล่าวไปพร้อมๆ กันอย่างเชื่อมโยง เพราะเกิดจากการคุ้นเคยกับหนังสือและมีประสบการณ์กับตัวหนังสือที่มาพร้อม กับกิจกรรมในชีวิตประจำวัน
- เด็กจะมีทัศนคติที่ดีกับภาษา เพราะเด็กเกิดการเรียนรู้ภาษาด้วยตนเอง ไม่โดยบังคับให้ท่องจำ หรือมีการทำโทษเมื่อพูดผิด เขียนผิด
- เด็กจะชินกับการเรียนรู้ภาษาจากสิ่งรอบตัว และฝึกฝนให้เป็นนักอ่าน นักเรียนรู้ภาษาที่ดี เช่น จากหนังสือพิมพ์ จากนิทาน จากข้อความบนฉลากอาหาร เป็นต้น
- เด็กจะรู้จักการเข้าสังคม และการใช้ภาษาในการสื่อสารกับผู้อื่นอย่างชัดเจนและถูกต้อง ส่งเสริมให้เป็นคนมีบุคลิกภาพที่ดี
- เด็กจะมีจินตนาการ และพัฒนาการที่สมวัย เพราะเรียนรู้จากการสร้างสัญลักษณ์แทนภาษาขึ้นมาก่อนจะพัฒนามาสู่การเรียน การสอนแบบอ่านออกเขียนได้ และการใช้ประสบการณ์รอบตัวเป็นเครื่องมือสอนภาษาจะเป็นสิ่งที่ใกล้ตัวมากที่ สุด ทำให้เด็กรู้จักใช้ทรัพยการรอบๆ ตัวอย่างมีประโยชน์และเข้าใจความต้องการของตัวเองก่อนที่จะโดนรุกล้ำจากสิ่ง เร้าภายนอก
-
สิ่งที่พ่อแม่ควรรู้ก่อนตัดสินใจให้ลูกเรียนแนวการสอนภาษาแบบธรรมชาติ
สิ่งที่พ่อแม่ต้องทำความเข้าใจจากแนวการสอนภาษาแบบธรรมชาติคือ พ่อแม่ต้องไม่คาดหวังว่าลูกจะอ่านออกเขียนได้ทันทีเหมือนเด็กในโรงเรียน อื่นๆ เช่น เด็กอนุบาล 3 รุ่นเดียวกันในโรงเรียนอื่นเขียนชื่อตัวเองได้แล้ว เขียนประโยคสั้นๆ ได้ สะกดได้ อ่านประโยคง่ายๆ ได้ แต่ลูกเราที่เรียนแนวการสอนภาษาแบบธรรมชาติยังเขียนไม่ได้ อ่านประโยคง่ายๆ ไม่ได้ เพราะแนวการสอนภาษาแบบธรรมชาติ จะฝึกให้เด็กเรียนรู้อย่างค่อยเป็นค่อยไป และเรียนรู้ความหมายจากสิ่งรอบตัว ดังนั้นลูกเราจะรู้ความหมายของคำ ใช้คำนั้นเป็น และรู้แบบการใช้สัญชาตญาณที่จะจำไปตลอด ไม่ใช่แค่การท่องจำที่จะลืมได้ตลอดเวลาถ้ามีความรู้ใหม่ๆ เข้ามา ถ้าพ่อแม่ตัดสินใจให้ลูกเรียนแนวการสอนภาษาแบบธรรมชาติจะ ต้องไม่เร่งรีบ แต่ควรส่งเสริมลูกไปพร้อมๆ กับการเรียนที่โรงเรียน เช่น ชวนลูกเล่านิทาน ชวนอ่านข้อความสั้นๆ ที่เจอในชีวิตประจำวัน หรือสอนศัพท์ง่ายๆ จะช่วยให้ลูกมีทักษะการเรียนรู้ภาษาและการเชื่อมโยงสิ่งต่างๆ รอบตัวได้ไวขึ้น เพื่อพัฒนาไปสู่การเรียนรู้อื่นๆ
การสอนภาษาแบบาธรรมชาติ
"ในความคิดของดิฉันก็คือการสอนโดยให้เด็กได้ทั้งด้านการฟัง พูด อ่าน เขียน การสอนภาษาโดยใช้การสอนที่ใช้สิ่งรอบตัวเด็ก เช่นการสอนภาษาโดยให้เด็กเขียนชื่อของตนเอง ซึ่งทำให้เด็กได้รู้ว่า ชื่อของตนมีตัวสะกดอย่างไรบ้าง และก็ควรที่จะบูรณาการให้เข้ากับกิจกรรม"
ในห้องเรียนที่สอนภาษาแบบธรรมชาติจะจัดให้มีมุมที่ส่งเสริมเรื่องภาษาอย่างชัดเจน เช่น มุมห้องสมุด มุมอ่าน มุมเขียน มุมบทบาทสมมุติ มุมวิทยาศาสตร์ มุมบล็อก เป็นต้น โดยทุกมุมจะมีป้ายสัญลักษณ์ หรือเครื่องหมายต่างๆ ที่มีความหมายในการสื่อสารกับเด็ก มีบรรยากาศของการเรียนรู้แบบร่วมมือ เด็กมีโอกาสและเวลาที่จะตัดสินใจเลือกลงมือปฏิบัติกิจกรรมเพื่อการเรียนรู้ ด้วยตนเอง เด็กๆ สนใจที่จะอ่านและเขียนจากความเข้าใจและประสบการณ์ของตัวเองอย่างอิสระและมีความสุข
ในห้องเรียนที่สอนภาษาแบบธรรมชาติจะจัดให้มีมุมที่ส่งเสริมเรื่องภาษาอย่างชัดเจน เช่น มุมห้องสมุด มุมอ่าน มุมเขียน มุมบทบาทสมมุติ มุมวิทยาศาสตร์ มุมบล็อก เป็นต้น โดยทุกมุมจะมีป้ายสัญลักษณ์ หรือเครื่องหมายต่างๆ ที่มีความหมายในการสื่อสารกับเด็ก มีบรรยากาศของการเรียนรู้แบบร่วมมือ เด็กมีโอกาสและเวลาที่จะตัดสินใจเลือกลงมือปฏิบัติกิจกรรมเพื่อการเรียนรู้ ด้วยตนเอง เด็กๆ สนใจที่จะอ่านและเขียนจากความเข้าใจและประสบการณ์ของตัวเองอย่างอิสระและมีความสุข
การสอนภาษาสำหรับเด็กที่ไม่เหมาะสมคือ?
การสอนภาษาที่ไม่สมควรสอนให้กับเด็กปฐมวัยคือการสอนแบบแจกลูกสะกดคำหรือการที่ให้เด็กเรียนโดยเน้นด้านทักษะมากเกินไปซึ่งดิฉันมีความเห็นว่าเป็นการสอนที่สามารถทำให้เด็กเกิดความตรึงเครียดได้กับการเรียนโดยการที่ต้องท่องจำ
ยกตัวอย่างการสอนแบบแจกลูกสะกดคำเช่น
วิธีการสะกดคำตามรูปคำ
กา สะกดว่า กอ-อา-กา
คาง สะกดว่า คอ-อา-งอ
ยกตัวอย่างการสอนแบบแจกลูกสะกดคำเช่น
วิธีการสะกดคำตามรูปคำ
กา สะกดว่า กอ-อา-กา
คาง สะกดว่า คอ-อา-งอ
การเล่านิทาน
"การเล่านิทานดิฉันคิดว่าเป็นการส่งเสริมความรู้ทางด้านภาษาของเด็กได้เป็นอย่างดี และยังส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญา พัฒนาการด้านสังคมและอารมณ์อีกด้วย เพราะเด็กจะได้มีจินตนาการสามารถคิดในรูปแบบนามธรรมในใจได้ และครูก็ควรที่จะให้เด้กได้ถามตอบด้วยเพื่อส่งเสริมภาษาของเด็ก"
เด็กควรได้รับรู้ความรู้ทางภาษาโดยองค์รวม
ฟัง พูด อ่าน เขียน ครูควรจะบูรณาการโดยการจัดกิจกรรม
1 การฟัง เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้เสียงที่ได้ยิน การตระหนักถึงความหมายของเสียงนั้นในบริบทแวดล้อม และการตีความสิ่งที่ได้ยินโดยเชื่อมโยงกับความรู้เดิม การรวบรวมข้อมูล การจินตนาการ หรือความชื่นชอบของเด็ก ทั้งนี้ สาระที่ควรเรียนรู้เกี่ยวกับการฟังแบ่งออกเป็น 3 ด้าน (Jalongo, 1992: 67) ได้แก่
(1) ด้านความสามารถในการได้ยินและจับใจความ ซึ่งขึ้นอยู่กับประสบการณ์และภูมิหลังของเด็ก ครูจึงต้องปรับกิจกรรมให้เหมาะสมกับความต้องการและความจำเป็นนั้นๆ
(2) ด้านความตั้งใจฟัง เกิดขึ้นเมื่อมีแรงจูงใจ มีเหตุผลที่ดี หรือมีประโยชน์ต่อเด็ก
(3) ด้านนิสัยในการฟัง เป็นพฤติกรรมตอบสนองต่อสถานการณ์ในการฟัง นิสัยที่ดีในการฟังเกิดจากการที่เด็กมีความสนใจ ได้รับข้อมูลหรือสารที่ชัดเจน และการได้ตอบสนองต่อสิ่งที่ได้ยิน
ดังนั้น สิ่งที่ครูควรตระหนักและวางแผนในการกำหนดสาระที่เด็กควรเรียนรู้ด้านการฟัง คือ การช่วยให้เด็กมีความไวต่อการใช้บริบท หรือสิ่งชี้แนะเพื่อการตีความ และการเชื่อมโยงสิ่งที่ได้ยินกับประสบการณ์ของเด็ก โดยที่ครูเป็นผู้ช่วยให้เด็กมีประสบการณ์ต่างๆ อย่างเพียงพอ เหมาะสมกับวัย ความแตกต่างระหว่างบุคคล และความสนใจของเด็ก เพื่อเป็นแรงจูงใจที่ช่วยให้เด็กมีความตั้งใจในการฟัง และพัฒนาไปสู่การมีนิสัยที่ดีในการฟังในที่สุด
2 การพูด เป็นสิ่งสำคัญในการสื่อสารกับผู้อื่น สาระที่เด็กควรเรียนรู้เพื่อให้สามารถสื่อสารกับผู้อื่นอย่างมีความหมาย และตรงตามความต้องการของเด็ก ได้แก่
(1) คำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของเด็ก หรือคำศัพท์เกี่ยวกับเรื่องราวที่เด็กสนใจ
(2) การเรียงลำดับคำต่างๆ เพื่อใช้ในการสื่อสารให้ผู้อื่นเข้าใจ
(3) การใช้คำพูดที่เป็นที่ยอมรับ และ/หรือคำพูดที่สุภาพ
(4) การใช้คำพูดให้เหมาะสมกับบุคคลที่ต้องการสื่อสารด้วย
(5) ความมั่นใจในการพูดกับผู้อื่น
(6) การยอมรับความคิดที่ผู้อื่นแสดงออกด้วยการพูด
(7) ความสนใจที่มีต่อคำใหม่ๆ สาระเหล่านี้ช่วยให้เด็กสามารถมากขึ้น
3 การอ่าน เป็นกระบวนการที่เด็กใช้ในการถอดรหัสสัญลักษณ์ และทำความเข้าใจความหมายที่ผู้เขียนต้องการถ่ายทอดผ่านสัญลักษณ์เหล่านั้น องค์ประกอบของการอ่านที่เด็กควรเรียนรู้ (สุภัทรา คงเรือง, 2539: 19 - 20) ได้แก่
(1) ความรู้เกี่ยวกับการใช้หนังสือ ได้แก่ การรู้ทิศทางในการถือหนังสือ การรู้ส่วนประกอบของหนังสือ และ การรู้ทิศทางในการอ่าน
(2) ความรู้เกี่ยวกับตัวอักษร ได้แก่ การรู้ว่าการอ่านกับการเขียนสัมพันธ์กัน การรู้จักคำคุ้นตา การรู้ว่าคำคืออะไร การรู้จักตัวอักษรตัวแรก และตัวสุดท้ายของคำ และ การรู้รูปร่างและทิศทางของตัวอักษร
(3) ความรู้เกี่ยวกับเครื่องหมายวรรคตอน ได้แก่ การรู้ความหมายของเครื่องหมายคำพูด เครื่องหมายคำถาม และเครื่องหมายอัศเจรีย์
(4) ความรู้เกี่ยวกับการใช้สิ่งชี้แนะในการคาดคะเนและตรวจสอบการคาดคะเน ได้แก่ การคาดคะเน และตรวจสอบการคาดคะเนโดยอาศัยภาพ ความหมายของคำ โครงสร้างของประโยค และ/หรือ พยัญชนะต้นของคำ
4 การเขียน เป็นกระบวนการแสดงออกถึงความรู้สึก ความต้องการ และความคิดผ่านทางเครื่องหมายและสัญลักษณ์ต่างๆ องค์ประกอบของการเขียนที่เด็กควรเรียนรู้ (ภาวิณี แสนทวีสุข, 2538: 9) ได้แก่
(1) การสร้างสัญลักษณ์ภาษาเขียน หมายถึง การสร้างภาพ และ/หรือข้อความ ด้วยการวาด การลอก การจำมาเขียนทั้งที่ไม่ถูกต้องสมบูรณ์และถูกต้องสมบูรณ์ การคิดพยัญชนะขึ้นเสียงของคำ ตลอดจนการคิดสะกดคำ
(2) ทิศทางการเขียน หมายถึง การจัดเรียงตำแหน่งของสิ่งที่เขียน ตั้งแต่การจัดเรียงตามแนวตั้งและแนวนอนอย่างสะเปะสะปะ ไปจนกระทั่งเด็กสามารถเขียนจากซ้ายไปขวา และบนลงล่างอย่างสม่ำเสมอ
(3) วิธีถ่ายทอดความหมายของสัญลักษณ์ภาษาเขียน หมายถึง การแสดงความหมายของภาพ และ/หรือข้อความที่ตนเขียนให้ผู้อื่นรับรู้ด้วยการบอกให้ครูช่วยเขียนให้ เขียนเองบางส่วน ตลอดจนเขียนเองทั้งหมด
(4) ความซับซ้อนของความหมาย หมายถึง ความชัดเจน ความละเอียดลออ และครอบคลุมความหมายที่ต้องการสื่อโดยใช้หน่วยไวยากรณ์ที่เป็นตัวอักษร คำ หรือประโยคง่ายๆ
ทั้งนี้ การนำเสนอสาระการเรียนรู้ด้านภาษา ทั้งประสบการณ์สำคัญ และสาระที่ควรเรียนรู้โดยแยกตามทักษะการใช้ภาษานั้น เพื่อให้ครูมีความกระจ่างชัดต่อทักษะทางภาษาในแต่ละทักษะ ไม่ได้หมายถึงการจัดประสบการณ์ให้แก่เด็กโดยแยกแต่ละทักษะออกจากกัน การจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัยด้านภาษาต้องเป็นการบูรณาการทุกทักษะเข้า ด้วยกัน โดยจัดกิจกรรมที่สนับสนุนให้เด็กได้ใช้ภาษาเพื่อการสื่อความหมายในชีวิต ประจำวันอย่างแท้จริง
การจัดสภาพแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
การจัดสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
การจัดประสบการณ์สำหรับเด็กด้านภาษาจำเป็นต้องสร้างสภาพแวดล้อมให้เด็กคุ้นเคยกับการใช้ภาษาอย่างมีความหมาย และเป็นองค์รวม เนื่องจากสภาพแวดล้อมในห้องเรียนเป็นสิ่งที่สำคัญที่ส่งผลต่อความต้องการใน การเรียนภาษาของเด็ก การจัดสภาพแวดล้อมเพื่อส่งเสริมการเรียนภาษาของเด็กต้อง สอดคล้องกับวิธีการเรียนรู้ของเด็ก ส่งเสริมให้เด็กสำรวจ ปฏิบัติจริง เป็นผู้กระทำด้วยตนเอง เปิดโอกาสให้เด็กเป็นอิสระได้สังเกตและตั้งสมมุติฐาน ส่งเสริมการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างเด็กกับบุคคลรอบข้าง เป็นสิ่งแวดล้อมที่เน้นความหมายมากกว่ารูปแบบ ควรยอมรับการสื่อสารของเด็กในรูปแบบต่างๆโดยคำนึงถึงความหมายที่เด็กต้องการ สื่อมากกว่าความถูกต้องทางไวยากรณ์ (หรรษา นิลวิเชียร, 2535: 211-212)
ห้องเรียนที่เอื้อต่อการเรียนรู้ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยควรมีวัสดุอุปกรณ์ส่ง เสริมการรู้หนังสือที่มีคุณภาพ เด็กที่ได้อยู่ในห้องเรียนที่มีวรรณกรรมสำหรับเด็กที่มีคุณภาพมีแนวโน้มที่ จะรักการอ่าน และการอ่านวรรณกรรมที่ดีจะกลายเป็นส่วนสำคัญของชีวิตในอนาคตของเด็ก อีกทั้งยังเป็นส่วนที่กระตุ้นให้เด็กมีความต้องการอ่านบ่อยครั้ง ซึ่งส่งผลต่อการประสบความสำเร็จในการเรียนในระดับที่สูงขึ้น ทั้งนี้วัสดุอุปกรณ์ที่ควรมีในห้องเรียนได้แก่วรรณกรรมสำหรับเด็กที่มีความ หลากหลายในด้านของผู้แต่ง และผู้วาดภาพประกอบ มีระดับความยากแตกต่างกัน มีวัสดุที่ใช้สำหรับการอ้างอิง ประกอบด้วยพจนานุกรม แผนที่ บัญชีคำศัพท์ และสารานุกรม นิตยสารสำหรับเด็ก นอกจากนี้ครูควรจัดให้มีสื่อสำหรับการเขียนทั้งกระดาษที่ไม่มีเส้น และมีเส้นหลายสี หลายแบบ หลายขนาด กระดาษบันทึกเล็กๆ ซองจดหมาย ดินสอ ปากกา สีชนิดต่างๆ เครื่องเหลาดินสอ ตรายางและแท่นประทับ นอกจากนี้ยังอาจจัดสื่อสำหรับการเย็บกระดาษ ซึ่งประกอบด้วยเครื่องเย็บกระดาษ ที่เจาะกระดาษ เชือก กาว เทปใส กระดาษกาว คลิปหนีบกระดาษ กรรไกร เป็นต้น โดยควรจัดวางให้เด็กสามารถเลือกหยิบใช้และนำมาเก็บคืนได้ด้วยตนเองด้วย
การจัดประสบการณ์สำหรับเด็กด้านภาษาจำเป็นต้องสร้างสภาพแวดล้อมให้เด็กคุ้นเคยกับการใช้ภาษาอย่างมีความหมาย และเป็นองค์รวม เนื่องจากสภาพแวดล้อมในห้องเรียนเป็นสิ่งที่สำคัญที่ส่งผลต่อความต้องการใน การเรียนภาษาของเด็ก การจัดสภาพแวดล้อมเพื่อส่งเสริมการเรียนภาษาของเด็กต้อง สอดคล้องกับวิธีการเรียนรู้ของเด็ก ส่งเสริมให้เด็กสำรวจ ปฏิบัติจริง เป็นผู้กระทำด้วยตนเอง เปิดโอกาสให้เด็กเป็นอิสระได้สังเกตและตั้งสมมุติฐาน ส่งเสริมการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างเด็กกับบุคคลรอบข้าง เป็นสิ่งแวดล้อมที่เน้นความหมายมากกว่ารูปแบบ ควรยอมรับการสื่อสารของเด็กในรูปแบบต่างๆโดยคำนึงถึงความหมายที่เด็กต้องการ สื่อมากกว่าความถูกต้องทางไวยากรณ์ (หรรษา นิลวิเชียร, 2535: 211-212)
ห้องเรียนที่เอื้อต่อการเรียนรู้ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยควรมีวัสดุอุปกรณ์ส่ง เสริมการรู้หนังสือที่มีคุณภาพ เด็กที่ได้อยู่ในห้องเรียนที่มีวรรณกรรมสำหรับเด็กที่มีคุณภาพมีแนวโน้มที่ จะรักการอ่าน และการอ่านวรรณกรรมที่ดีจะกลายเป็นส่วนสำคัญของชีวิตในอนาคตของเด็ก อีกทั้งยังเป็นส่วนที่กระตุ้นให้เด็กมีความต้องการอ่านบ่อยครั้ง ซึ่งส่งผลต่อการประสบความสำเร็จในการเรียนในระดับที่สูงขึ้น ทั้งนี้วัสดุอุปกรณ์ที่ควรมีในห้องเรียนได้แก่วรรณกรรมสำหรับเด็กที่มีความ หลากหลายในด้านของผู้แต่ง และผู้วาดภาพประกอบ มีระดับความยากแตกต่างกัน มีวัสดุที่ใช้สำหรับการอ้างอิง ประกอบด้วยพจนานุกรม แผนที่ บัญชีคำศัพท์ และสารานุกรม นิตยสารสำหรับเด็ก นอกจากนี้ครูควรจัดให้มีสื่อสำหรับการเขียนทั้งกระดาษที่ไม่มีเส้น และมีเส้นหลายสี หลายแบบ หลายขนาด กระดาษบันทึกเล็กๆ ซองจดหมาย ดินสอ ปากกา สีชนิดต่างๆ เครื่องเหลาดินสอ ตรายางและแท่นประทับ นอกจากนี้ยังอาจจัดสื่อสำหรับการเย็บกระดาษ ซึ่งประกอบด้วยเครื่องเย็บกระดาษ ที่เจาะกระดาษ เชือก กาว เทปใส กระดาษกาว คลิปหนีบกระดาษ กรรไกร เป็นต้น โดยควรจัดวางให้เด็กสามารถเลือกหยิบใช้และนำมาเก็บคืนได้ด้วยตนเองด้วย
บัันทึกอนุทินครั้งที่15
บันทึกอนุทิน ครั้งที่15
วัน/เดือน/ปี 20/ก.ย./2556
ครั้งที่11 เวลาเรียน 13.10-16.40 เวลาเข้าสอน 13.10
เวลาเข้าเรียน 13.10 เวลาเลิกเรียน 16.40
สิ่งที่ได้รับในวันนี้คือ
การที่อาจารย์ให้ทำแผนผังความคิดครั้งนี้ทำให้ ดิฉันได้สรุปข้อมูลเนื้อหาในบางส่วนที่อาจารย์สอน แล้วได้กลับมาหาข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อนำไปสอบ ซึ่งเป็นผลดีมากกับการทำข้อของวิชานี้
วันพฤหัสบดีที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2556
บันทุกอนุทิน ครั้งที่14
บันทึกอนุทิน ครั้งที่14
วัน/เดือน/ปี 13/ก.ย./2556
ครั้งที่11 เวลาเรียน 13.10-16.40 เวลาเข้าสอน 13.10
เวลาเข้าเรียน 13.10 เวลาเลิกเรียน 16.40
วันนี้ได้สร้างสรรค์ผลงานเกี่ยวกับเรื่องของมุมห้องที่จะจัดให้เด็ก ก็ได้เรียนรู้เรื่องเกี่ยวกับมุมห้องแล้วก็ได้ทำงานเป็นกลุ่มสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนๆในกลุ่มและกลุ่มรอบๆข้าง
วันพฤหัสบดีที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2556
บันทึกอนุทิน ครั้ง13
บันทึกอนุทิน ครั้งที่13
และวันนี้อาจารย์ก็ได้ให้คัดลายมือตัวบรรจงด้วย ซึ่งดิฉันมีความถนัดมากกับการคัดครั้งนี้เพราะทำครั้งเดียวก็ผ่านเลย ตอนดิฉันอยู่มัธยมต้นดิฉันก็ได้คัดแบบนี้ทุกๆเย็นเพราะคุณแม่ดิฉันก็เป็นครูจึงฝึกให้ดิฉันคัดอยู่บ่อยๆ
วัน/เดือน/ปี 6/ก.ย./2556
ครั้งที่11 เวลาเรียน 13.10-16.40 เวลาเข้าสอน 13.10
เวลาเข้าเรียน 13.10 เวลาเลิกเรียน 16.40
วันนี้เรียนเรื่องการจัดกิจกรรมและจัดสภาพแวดล้อมเพื่อให้เด็กได้เรียนรู้เรื่องภาษา
สิ่งที่ได้รับในวันนี้คือ
- กิจกรรมใบ้สัตว์เป็นกิจกรรมที่ง่ายแต่เด็กได้ภาษาจากท่าทางและเสียง
- การจัดสภาพแวดล้อมให้เด็กคุ้นเคยกับการใช้ภาษาอย่างมีความหมายและองค์รวม
(ทุกๆด้าน)
- เด็กควรที่จะทำกิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะทางภาษาโดยที่ไม่เน้นเนื้อหาทางภาษา ตามความเข้าใจของดิฉันก็คือไม่ใช้การท่องจำ เช่นตัวอักษรต่างๆ แต่เน้าทางด้านภาษาที่อยู่รอบตัวของเด็ก หรือการสอนโดยใช้ภาษาธรรมชาติจะทำให้เด็กเพลิดเพลินกับการใช้ภาษามากยิ่งขึ้น
- หน้าที่ของครูในการส่งเสริมทางด้านภาษาให้กับเด็กก็คือ
มุมที่ปรากฎในห้องเรียน เช่น มุมหนังสือ มุมบทบาทสมมติ มุมศิลปะ มุมดนตร ฯลฯ
ในการจัดมุมห้องเราก็ต้องมีพื้นที่ให้เด็กทำกิจกรรมได้
จักพื้นที่ให้เด็กได้รู้สึกผ่อนคลายเมื่ออยู่ในมุม และบริเวณรอบๆห้องควรที่จะมีอุปกรณ์เรื่องเขียนให้เด็กด้วย
ภาษาสามารถแทรกอยู่ได้ทุกกิจกรรม
บันทึกอนุทิน ครั้งที่12
บันทึกอนุทิน ครั้งที่12
วัน/เดือน/ปี 30/ส.ค./2556
ครั้งที่11 เวลาเรียน 13.10-16.40 เวลาเข้าสอน 13.10
เวลาเข้าเรียน 13.10 เวลาเลิกเรียน 16.40
ในการเรียนครั้งนี้อาจารย์ให้จัดกลุ่มเพื่อทำสื่อที่ส่งเสริมทางด้านภาษา กลุ่มละ 1ชิ้น
กลุ่มดิฉันได้ทำสื่อ ทายสิ...ฉันกินอะไร
จุดประสงค์ของสื่อนี้ก็คือ ให้เด็กๆได้รู้ว่าสัตว์ตามสื่อนี้กินอะไรเป็นอาหาร
บันทึกอนุทิน ครั้งที่11
บันทึกอนุทิน ครั้งที่11
สื่อการเรียนรู้ทางภาษา
คือ เครื่องมือที่สร้างขึ้นมาให้เหมาะสมกับตัวเด็ก คือการที่เรียนรู้จากประสาทสัมผัส จับต้องได้หรือของจริง เพราะเด็กในวัยนี้เข้าใจในรูปธรรมจะทำให้เข้าใจง่ายและจำได้นาน
ประเภทของสื่อการสอน
- สื่อสิ่งพิมพ์ สิ่งต่างๆที่เกี่ยวกับการพิมพ์ เช่น นิทาน หนังสือพิมพ์
- สื่อวัสดุอุปกรณ์ สิ่งของต่างๆที่เป็นของจริงหรือหุ่นจำลอง
- สื่อโสตทัศนูปกรณ์ สิ่งที่นำเสนอผ่านเครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆ
- สื่อกิจกรรม ใช้กระบวนการคิด การปฏิบัติ การเผชิญ สถานการณ์นั้นๆ
- สื่อบริบท ส่งเสริมการจัดประสบการณ์
วัน/เดือน/ปี 23/ก.ค./2556
ครั้งที่11 เวลาเรียน 13.10-16.40 เวลาเข้าสอน 13.10
เวลาเข้าเรียน 13.10 เวลาเลิกเรียน 16.40
สื่อการเรียนรู้ทางภาษา
คือ เครื่องมือที่สร้างขึ้นมาให้เหมาะสมกับตัวเด็ก คือการที่เรียนรู้จากประสาทสัมผัส จับต้องได้หรือของจริง เพราะเด็กในวัยนี้เข้าใจในรูปธรรมจะทำให้เข้าใจง่ายและจำได้นาน
ประเภทของสื่อการสอน
- สื่อสิ่งพิมพ์ สิ่งต่างๆที่เกี่ยวกับการพิมพ์ เช่น นิทาน หนังสือพิมพ์
- สื่อวัสดุอุปกรณ์ สิ่งของต่างๆที่เป็นของจริงหรือหุ่นจำลอง
- สื่อโสตทัศนูปกรณ์ สิ่งที่นำเสนอผ่านเครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆ
- สื่อกิจกรรม ใช้กระบวนการคิด การปฏิบัติ การเผชิญ สถานการณ์นั้นๆ
- สื่อบริบท ส่งเสริมการจัดประสบการณ์
สิ่งที่ได้รับ: ได้รู้จักสื่อต่างๆที่มีความหลากหลาย และทำให้ดิฉันได้รู้ว่าควรที่จะใช้สื่ออะไรบ้างเพื่อนำมาสอนนักเรียน และสื่อประเภทไหนที่เหมาะกับสถานการณ์ต่างๆ
บันทึกอนุทิน ครั้งที่10
วัน/เดือน/ปี 16/ก.ค./2556
ครั้งที่10 เวลาเรียน 13.10-16.40 เวลาเข้าสอน 13.10
เวลาเข้าเรียน 13.10 เวลาเลิกเรียน 16.40
กิจกรรม: ประเทศอาเซี่ยน
สิ่งที่ได้รับ: ในการจัดกลุ่มตามที่อาจารย์บอกให้แต่ละกลุ่มทำธงของประเทศอาเซียนแตกต่างกัน
ไปดิฉันก็ได้รู้คำศัพท์ของประเทศต่างๆในอาเซียนด้วย
วันพฤหัสบดีที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2556
บันทึกอนุทินครั้งที่9
วันที่ 9 สิงหาคม 2556
กิจกรรมวันนี้สิ่งที่ดิฉันจะนำไปใช้ในการสอนก็คือ สื่อในการสอนเกี่ยวกับนิทานเพราะนิทานสามารถกระตุ้นพัฒนาการของเด็กไ้หลายด้สนเช่นจินตนาการ และการที่ให้เด็กวาดรูประบายสี ก็เป็นการทำให้กล้ามเนื้อเล็กและกล้ามเนื้อใหญ่แข็งแรงมากขึ้น เด็กจะเพลิดเพลินและมีสมาธิมากเมื่อได้ฟังนิทาน
วันนี้อาจารย์ให้ช่วยกันแต่งนิทาน และทำหนังสือนิทานกันเป็นกลุ่มๆ
นี่คือนิทานที่เด็กๆทำ
เมื่อทุกกลุ่มทำเสร็จอาจารย์ก็ให้เล่านิทานต่อๆกันจนจบเรื่อง
กิจกรรมวันนี้สิ่งที่ดิฉันจะนำไปใช้ในการสอนก็คือ สื่อในการสอนเกี่ยวกับนิทานเพราะนิทานสามารถกระตุ้นพัฒนาการของเด็กไ้หลายด้สนเช่นจินตนาการ และการที่ให้เด็กวาดรูประบายสี ก็เป็นการทำให้กล้ามเนื้อเล็กและกล้ามเนื้อใหญ่แข็งแรงมากขึ้น เด็กจะเพลิดเพลินและมีสมาธิมากเมื่อได้ฟังนิทาน
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)